Logo Hashtag Legend

แฟชั่นรักษ์โลกกับการฟอกเขียว: จริงแค่ไหนเมื่อแฟชั่นแบรนด์บอกว่าพวกเขารักษ์โลก

Author: Pimpichaya Chaikittiporn | Photographer: -

Jun 21, 2024

"...ในฐานะผู้บริโภค ทางเลือกของเรามีพลังอันยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนแบรนด์ที่ยึดถือแนวปฏิบัติที่โปร่งใสและมีจริยธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมแต่ยังช่วยทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นได้มีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่างๆ ที่ตามมา..."

รูปภาพจาก Mary Remma, STICKY, และ Ecoalf

ในปัจจุบัน เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยุ่ตลอดเวลา และแนวคิดเรื่อง 'ความยั่งยืน' ได้กลายมาเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงและความคาดหวังของผู้บริโภคและส่งเสริมแนวทางปฏิบัติของอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของ 'แฟชั่นรักษ์โลก' ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น ด้วยแรงหนุนจากความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการพิจารณาด้านจริยธรรม อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการแพร่กระจายของการกล่าวอ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า 'การฟอกเขียว' ถือเป็นความท้าทายสำคัญในเรื่องนี้ เนื่องด้วยการฟอกเขียวคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแบรนด์ได้ สร้างข้อมูลรับรองด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา แต่ไม่ได้มีพฤติกรรมที่สื่อความถึงการรักษ์โลกอย่างแท้จริง หากแต่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่แบรนด์นั้นๆ สร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง ที่นับเป็นการหลอกลวงผู้บริโภคในทางใดทางหนึ่ง เช่น สโลแกนที่คลุมเครือที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้

รูปภาพจาก Whitney Bauck และ Jean Marie Takouleu 

แล้วเราจะแยกแยะแบรนด์แฟชั่นที่มีความยั่งยืนอย่างแท้จริงจากแบรนด์ที่มีพฤติกรรมการฟอกเขียวได้อย่างไร? คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ ผู้บริโภคจะต้องปลูกฝังความเข้าใจที่ครอบคลุมถึงความยั่งยืนที่แท้จริง แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงจะให้ความสำคัญกับความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินงาน ตั้งแต่แนวทางปฏิบัติในห่วงโซ่อุปทานไปจนถึงการจัดหาวัสดุและวิธีการผลิต ผู้บริโภคอย่างเราจึงต้องมองหาการรับรองจากองค์กรที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ อาทิเช่น Global Organic Textile Standard (GOTS) หรือ Fair Trade ซึ่งจะตรวจสอบความมุ่งมั่นของแบรนด์ในหลักปฏิบัติด้านจริยธรรมและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การรับรองเหล่านี้ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ออกมานั้นมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ด้านความยั่งยืน รวมถึงการใช้วัสดุออร์แกนิกหรือวัสดุรีไซเคิลและแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม

รูปภาพจาก Stella McCartney

ทาง #legend_TH ได้รวบรวม ตัวอย่างแบรนด์ที่เป็นแบรนด์แฟชั่นที่รุ่มรวยด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริงมาเป็นตัวอย่างให้ในบทความนี้ ซึ่งเมื่อพูดถึงแฟชั่นกับความยั่งยืนแล้ว ต้องบอกเลยว่าแบรนด์อย่างสเตลล่า แมคคาร์ทนีย์ (Stella McCartney) เป็นตัวอย่างที่ดีมาก เนื่องด้วยทางแบรนด์ได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการแฟชั่นผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในกระบวนการผลิต เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ไม่เคยใช้หนังสัตว์จริง และยังใช้ผ้าไนลอน ECONYL® ผลิตขึ้นจากพลาสติกเหลือใช้ นอกจากนี้ทางแบรนด์ยังใช้ตาข่ายจับปลามารีไซเคิลแล้วนำไปทอใหม่เป็นผ้าไนลอนที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับไนลอนทั่วไป

รูปภาพจาก Patagonia

อีกหนึ่งแบรนด์ที่ไม่พูดถึงเลยคงไม่ได้คือพาทาโกเนีย (Patagonia) ที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าคุณภาพและให้ความสำคัญกับเรื่องของความยั่งยืน ทางแบรนด์ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดในขั้นตอนการผลิต และพยายามลดการปล่อยก๊าซจากการขนส่ง รวมไปถึงลดการใช้ถุงพลาสติกให้ได้มากที่สุดในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้แบรนด์สัญชาติฝรั่งเศสอย่าง Sézane ยังคงเน้นการรังสรรค์คอลเลคชันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น และในขณะเดียวกันนี้ แบรนด์อย่าง B Corp certified, GOTS, Oeko-Tex, FSC, Ecovero, RWS และ RMS ยังคงเป็นลิสต์ของแบรนด์สร้างสรรค์ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรณ์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆมากมายด้วยเช่นกัน

รูปภาพจาก  Sézane,Veja, และ Ecoalf

ในขณะที่ Veja แบรนด์รองเท้าสัญชาติฝรั่งเศส มุ่งเน้นไปที่การจัดหาการค้าที่เป็นธรรมและการใช้วัสดุที่ยั่งยืน ถึงแม้แนวปฏิบัตินี้จะทำให้ทางแบรนด์มีต้นทุนการผลิตสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดที่มีฐานการผลิตอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยนโยบายการค้าที่เป็นธรรมและการใช้วัสดุออร์แกนิค ในขณะที่แบรนด์ Ecoalf แบรนด์แฟชั่นสัญชาติสเปน ที่เน้นผลิตสินค้าจากขยะในทะเลเช่น ขวดน้ำพลาสติก อวนจับปลา ยางรถยนต์ และอื่นๆอีกมากมาย ทางแบรนด์โดดเด่นด้วยสโลแกน 'เพราะโลกนี้ไม่มีใบที่สอง' 

อ่านบทความเพิ่มเติม: Pride Month: สารพันไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ที่กลุ่ม LGBTQIA+ มอบให้แก่โลกแฟชั่น

RECOMMENDED READS