Olympic 2024: แก็ดเจ็ตดีไซน์มากเรื่องราวที่ปรากฏโฉมในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33
Author: Kantinan Srisan | Photographer: Courtesy of Paris2024
Aug 05, 2024
“...สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 ณ กรุงปารีสดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ แต่นอกเหนือไปจากเรื่องของการแข่งขัน ความน่าสนใจของงานออกแบบยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจได้เสมอ และในวันนี้ทาง #Legend_th ได้รวบรวมอุปกรณ์และงานออกแบบชิ้นโบว์แดงประจำมหกรรมมาฝาก พร้อมรายละเอียด แรงบันดาลใจ ไปจนถึงรูปลักษณ์การออกแบบที่มากด้วยเสน่ห์ไม่ซ้ำใคร…”
คบเพลิง
หนึ่งในงานดีไซน์ประจำมหกรรมที่ผู้คนทั่วโลกตั้งตารอคอย และพูดได้อย่างเต็มปากว่า ออกแบบมาได้สวยงามสมศักด์ศรีเมืองแฟชั่นและงานออกแบบในทุกมิติ ด้วยสายตาของนักออกแบบชาวฝรั่งเศสชื่อดังนะดับสากลอย่าง Mathieu Lehanneur และแรงบันดาลใจที่ส่งผ่านมาจากเรื่องของ ‘ความเท่าเทียม น้ำ และความเงียบสงบ’ ทำให้คบเพลิงที่ออกแบบมาสำหรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 ในครั้งนี้มีความสมมาตร เรียบง่าย และโดดเด่นด้วยรายละเอียดการเล่นเรื่องราวของเกลียวคลื่นที่ส่งผ่านจุดเว้าโค้งบริเวณกึ่งกลาง นำเสนอภาพลักษณ์งานออกแบบที่รียบโก้ได้ในทุกรายละเอียด
แมสคอท
แม้จะถึงพูดถึงกันอย่างขินปากว่าเป็นแมสคอต (Mascot) แต่แท้จริงแล้วแมสคอตประจำมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Olympic Phryge ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหมวก Phrygian ที่เป็นสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาวฟรีเจีย (Phrygia) ที่ทางผู้จัดงานในครั้งนี้ได้เลือกนำมาส่งสารถึงสัญลักษณ์แห่งความอิสระ ที่เป็นทางเปรียบเปรยถึงชาติฝรั่งเศสด้วยในคราวเดียวกัน โดยหากสังเกตุดีๆ นอกเหนือไปจากการตกแต่งด้วยลวดลายธงชาติฝรั่งเศสด้วยเฉดสี แดง น้ำเงิน และขาว ตัว Olympic Phryge นี้ยังสอดแทรกไว้ซึ่งดีเทลของความเป็นโอลิมปิกและพาราลิมปิกด้วยเช่นกัน ผ่านรายละเอียดของตัวมอสคอทเจ้าของโลโก้พาราลิมปิกและขาเทียมบริเวณข้างขวา
โพเดียม
อีกหนึ่งความน่าสนใจของงานออกแบบ โดยเฉพาะในเรื่องของแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ เพราะโพเดียมที่รังสรรค์ขึ้นสำหรับมหกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้มีดีเพียงแค่เรื่องของรูปลักษณ์ หากแต่ยังคงรากลึกไปถึงกรรมวิธี รังสรรค์โดย Le Pavé, Global Concept and Giffard ที่นำเอาวัสดุรีไซเคิลชนิด 100% มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ โดยลวดลายต่างๆ ที่ถูกประดับบนโพเดียมนี้ ทั้งเส้นสายและโค้งเว้าต่างๆ ล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากผลงานของสปานิกชาวฝรั่งเศสนาม Gustave Eiffel ผู้ซึ่งเป็นคนนำมาหอไอเฟล สัญลักษณ์สำคัญของชาติฝรั่งเศสมาสู่โลกเมื่อเดือนมีนาคม ปี 1889
อ่านบทความเพิ่มเติม: ยลโฉมเหรียญรางวัลโอลิมปิกและพาราลิมปิก ประจำปี 2024 ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของ Chaumet